วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

องค์ประกอบของดนตรี

องค์ประกอบของดนตรี

องค์ประกอบของดนตรี

1.    เสียงดนตรี ( Tone)  เป็นเสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา  โดยนำเสียงต่างๆ มาจัดระบบให้ได้สัดส่วน  มีความกลมกลืนกัน  โดยทั่วไปแล้วเสียงดนตรีจะเกิด จากเสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องเพลงของมนุษย์
2.    ทำนอง (Melody)  หมายถึง  เสียงสูง  เสียงต่ำ  เสียงยาว  เสียงสั้น  ของเครื่องดนตรีหรือเสียงคนร้อง ทำนองของดนตรีหรือบทเพลงนั้นจะแตกต่างกันออกไป  ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ประพันธ์เพลง
                3.  จังหวะ (Rhythm)  หมายถึง  การเคลื่อนไหวที่สม่ำเสมอ  อาจกำหนดไวเป็นความช้าเร็วต่างกัน  ในทางดนตรีแล้วนั้น การกำหนดความสั้นยาวของเสียงที่มีส่วนสัมพันธับระยะเวลาในการร้องเพลงหรือเล่นดนตรีจะต้องมีจังหวะเป็นเกณฑ์  ถ้าร้องเพลงหรือเล่นดนตรีไม่ตรงจังหวะ  ก็จะไม่มีความไพเราะเท่าที่ควร 
                4.  การประสานเสียง (Harmony) หมายถึง  เสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องเพลงของมนุษย์ที่มีระดับเสียงต่างกัน เปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน  โดยเสียงที่เปล่งออกมานั้นจะต้องผสมผสานกลมกลืนกันฟังแล้วไม่ขัดหู                     
                5.  รูปแบบการประพันธ์เพลง(Form)  หรือฉันทลักษณ์เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ดนตรีที่มีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีระบบและระเบียบ  ทำให้ผู้ฟังรู้สึกประทับใจ  สัมผัสกับสุนทรียรสได้ง่ายและเป็นอมตะ

การแบ่งประเภทของดนตรี

                ดนตรีที่ขับร้องและบรรเลงอยู่ในปัจจุบันนี้   แบ่งได้เป็น  2  ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.       ดนตรีประเภทเพลงบรรเลง (Instrumental  Music)
                เกิดจากการที่มนุษย์สร้างเสียงดนตรีขึ้นเพื่อบรรยายอารมณ์  ความคิด  ความรู้สึก  ซึ่งบางครั้งไม่สามารถบรรยายออกมาด้วยภาษาพูดได้  โดยนำเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ  บาบรรเลงเป็นเป็นหลัก  ทั้งในรูปแบบเดี่ยว(Solo)  แบบคู่(Duet)  แบบกลุ่ม(Ensemble)  วงดุริยางค์(Orchestra)  และวงดนตรี  (Band)
2.       ดนตรีประเภทขับร้อง(Vocal  Music)
                เกิดขึ้นจากเสียงร้องของมนุษย์โดยตรงที่บรรยายอารมณ์  ความรู้สึกออกมาเป็นเนื้อเพลงที่มีท่วงทำนองลีลา  สื่อความหมายได้ในเชิงภาษาพูด

ลักษณะของดนตรี

1.        ดนตรีพื้นเมืองหรือดนตรีพื้นบ้าน (Folk  Music) 
                ดนตรีพื้นบ้านเป็นดนตรีที่มาอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ  เครื่องดนตรีที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นเครื่องประกอบจังหวะซึ่งอาจจะเป็นฉิ่ง ฉาบ  กรับโหม่ง  โทนรำมะนา  กลองยาว  และอาจจะมีเครื่องดนตรีอื่นที่ใช้บรรเลงประกอบ ได้แก่  สะล้อ  ซอ  ซึง  แคน  เป็นต้น ท่วงทำนองของเพลงมักจะเป็นทำนองสั้นๆ ซ้ำๆ  วกไปวนมา  โดยเปลี่ยนเนื้อร้องไปเรื่อยๆ ภาษาที่ใช้ในการขับร้องจะเป็นภาษาประจำถิ่น
2.       ดนตรีแบบฉบับ  (Classical  Music)
                ดนตรีแบบฉบับเป็นดนตรีของชนชาติใดก็ตามที่ได้รับการพัฒนาจนเป็นดนตรีชั้นสูง เป็นดนตรีที่มีความดีเด่นถึงขั้นเป็นแบบฉบับของชนชาตินั้นได้  เช่น  ดนตรีไทย  ซึ่งเดิมเป็นดนตรีพื้นเมืองของภาคกลางได้รับการพัฒนาและนำเข้าไปเล่นในราชสำนัก  ต่อมาได้รับการปรับปรุงจากครูดนตรีหลายท่าน จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นดนตรีชั้นสูงที่มีความไพเราะ  ดนตรีประเภทนี้จึงนิยมเรียกทับศัพท์ว่า ดนตรีคลาสสิค
3.       ดนตรีสมัยนิยมหรือดนตรีชนนิยม ( Popular  Music)  
                ดนตรีสมัยนิยม  หมายถึง  ดนตรีที่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไป  เช่น  ดนตรีไทยสากลทั้งเพลงลูกทุ่ง  ลูกกรุง และวงดนตรีสากลทั้งหลายในปัจจุบัน  ดนตรีประเภทยนี้จะมีเพลงซึ่งงได้รับความนิยมอยู่เวลาหนึ่งก็จะเสื่อมความนิยมลงและก็จะมีเพลงใหม่ๆ เข้ามาแทนที่  บทเพลงของดนตรีสมัยนิยมถูกสร้างขึ้นโดยวิธีต่างๆ กัน  บางเพลงนำทำนองบางตอนของเพลงพื้นบ้านหรือเพลงแบบฉบับมาใช้  บางเพลงได้จากต่างชาติโดยตรง  เช่น  นำทำนองเพลงของชาติอื่นมาแล้วแต่งคำร้องเป็นภาษาของชาติตนเองใส่ลงไปในทำนองเพลง  เป็นต้น

1 ความคิดเห็น: